“วันอาสาฬหบูชา” วันแรกแห่งการประกาศพระพุทธศาสนา จุดเริ่มต้นทางสายกลาง
- by admin
- 149
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือถ้าปีใดไม่มีอธิกมาส (เดือน 8 สองครั้ง) จะตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 โดยในปีนี้ ตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566
ถือเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่ช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่สังคมไทยและทั่วโลกมากว่า 2500 ปี เพราะเป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ “ธัมมจักกัปวัตตนสูตร” โปรดเหล่าพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5ได้แก่โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานมะ และอัสสชิ
ซึ่งเคยอุปัฏฐากปรนนิบัติพระองค์มาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ให้ได้ “ธรรมจักษุ” หรือ “ดวงตาแห่งธรรม” คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า “สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา”
เหตุการณ์ครั้งนั้นได้สร้างความเลื่อมใสให้กับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 มาก พระปัญจวัคคีย์จึงขอบรรพชาอุปสมบทต่อ ทำให้วันนี้เป็นวันที่มีพระอริยสงฆ์องค์แรกของศาสนาพุทธ และทำให้มีพระรัตนตรัยครบ 3 องค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์คำพูดจาก เว็บตรง PG SLOT
สรุปได้ว่า วันอาสาฬหบูชา มีความสำคัญ ดังนี้
- เป็นวันแรกแห่งการประกาศพระพุทธศาสนา
- เป็นวันแรกที่เกิดเทศนากัณฑ์แรก คือ "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร"
- เป็นวันแรกที่มีพระอริยสงฆ๋องค์แรกของศาสนา
- เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบ 3 องค์
เปิดที่มาคำว่า “อาสาฬหบูชา”
คำว่า “อาสาฬห” แปลว่า เดือน ทางจันทรคติ ส่วนคำว่า “บูชา” แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 ซึ่งตรงกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม คำว่า “อาสาฬหบูชา” สามารถอ่านได้ทั้ง 2 แบบ คือ อา–สาน–หะ–บู–ชา หรือ อา–สา–ละ–หะ–บู–ชา
วันหยุดเดือนสิงหาคม 2566 เช็กวันหยุดยาว-ราชการ-ธนาคาร
ปฏิทินวันพระ 2566 เช็กเลยตรงกับวันไหนบ้าง วางแผนทำบุญได้ตลอดปี
หลักธรรมแรกที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนา
“ธัมมจักกัปวัตตนสูตร” ถือเป็นเทศนากัณฑ์แรก โดยมีใจความคือ ทรงยกที่สุด 2 ฝ่าย ได้แก่ การประกอบตนให้ลำบากด้วยการทรมานกาย และการไม่ประกอบตนให้เพลิดเพลินในกามสุข ซึ่งนับว่าเป็นของเลวทราม ไม่ควรเสพ เฉพาะทางสายกลางเท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติที่สมควร
แล้วทรงแสดงทางสายกลางคือ อริยมรรค 8 ประการ ได้แก่
1.) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
2.) สัมมาสังกัปปะ ความคิดที่ถูกต้องเช่น ไม่เบียดเบียนใคร
3.) สัมมาวาจา เจรจาที่ถูกต้อง เช่น พูดจาไพเราะ เว้นจากการพูดเท็จ เพ้อเจ้อ
4.) สัมมากัมมันตะ การปฏิบัติที่ถูกต้องเช่น ไม่โจรกรรม ไม่ประพฤติผิดในกาม
5.) สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง เช่น ไม่เป็นมิจฉาชีพ
6.) สัมมาวายามะ ความเพียรที่ถูกต้อง เช่น ความพยายามรักษาศีลให้ครบ 5 ข้อ
7.) สัมมาสติ การมีสติถูกต้อง เช่น รู้สึกตัวว่าตอนนี้กำลังอ่านหนังสือ
8.) สัมมาสมาธิ การมีสมาธิที่ถูกต้อง เช่น มีความแน่วแน่ในทางที่ถูกต้อง
สรุปด้วย อริยสัจ 4 ได้แก่
1.) ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
2.) สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
3.) นิโรธ ความดับทุกข์
4.) มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
กิจกรรมของพุทธศาสนิกชน
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนปี พ.ศ. 2501 การบูชาในวันสำคัญนี้จึงได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศไทย ตามที่คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501 โดยกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ให้มีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ ถวายสังฆทาน ฟังพระธรรมเทศนาและเวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดีย์พุทธสถานต่าง ๆ ภายในวัด เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาในวันอาสาฬหบูชา
รวมถึงยังควรปฏิบัติตนตามหลักธรรมในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อันได้แก่ “มัชฌิมาปฏิปทา” หรือ “ข้อปฏิบัติสายกลาง” คือ อริยมรรค 8 กล่าวโดยสรุปก็คือ ควรปฏิบัติตนให้มีศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ชื่อว่าได้บูชาพระพุทธองค์ ด้วยการบูชาอย่างยิ่งแล้ว
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือถ้าปีใดไม่มีอธิกมาส (เดือน 8 สองครั้ง) จะตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 โดยในปีนี้ ตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566
ถือเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่ช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่สังคมไทยและทั่วโลกมากว่า 2500 ปี เพราะเป็นวันแรกที่พระพุ…
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือถ้าปีใดไม่มีอธิกมาส (เดือน 8 สองครั้ง) จะตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 โดยในปีนี้ ตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566
ถือเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่ช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่สังคมไทยและทั่วโลกมากว่า 2500 ปี เพราะเป็นวันแรกที่พระพุ…